ข้ามไปเนื้อหา

ความแตกแยกระหว่างแอลเบเนีย–โซเวียต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความแตกแยกระหว่างแอลเบเนีย–โซเวียต
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็นและความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต
วันที่พ.ศ. 2499-2504
สถานที่แอลเบเนีย สหภาพโซเวียต
สาเหตุการล้มล้างอิทธิพลของสตาลินในสหภาพโซเวียต
ลัทธิแก้
ลัทธิฮอจา
วิธีการการโฆษณาชวนเชื่อ
การจับกุมชาวโซเวียตในแอลเบเนีย
การโจมตีฐานทัพเรือโซเวียต
ผลการขับไล่โซเวียตออกจากแอลเบเนีย
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ

ความแตกแยกระหว่างแอลเบเนีย–โซเวียต เป็นการค่อย ๆ เสื่อมถอยของความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (สหภาพโซเวียต) และสาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนียซึ่งเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2499-2504 อันเป็นผลจากการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างนีกีตา ครุชชอฟ ผู้นำโซเวียตกับยูโกสลาเวีย ควบคู่ไปกับ "สุนทรพจน์ลับ" ของเขา และการล้มล้างอิทธิพลของสตาลินในเวลาต่อมา รวมถึงความพยายามในการขยายนโยบายเหล่านี้ไปยังแอลเบเนียเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในรัฐกลุ่มตะวันออกอื่น ๆ ในขณะนั้น

อย่างไรก็ตาม ความแตกแยกระหว่างแอลเบเนีย–โซเวียตไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะจนกระทั่งในระหว่างการประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคคนงานที่กรุงบูคาเรสต์ใน พ.ศ. 2503 คณะผู้แทนแอลเบเนียซึ่งนำโดยฮิสนี คาโป ไม่สนับสนุนมุมมองทางอุดมการณ์ของครุชชอฟเกี่ยวกับความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต[1]

ผู้นำแอลเบเนียภายใต้การนำโดยแอนแวร์ ฮอจา มองว่านโยบายของครุชชอฟขัดแย้งกับหลักคำสอนของลัทธิมากซ์–เลนินและการประณามโจเซฟ สตาลินว่าเป็นการกระทำที่ฉวยโอกาสซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ลัทธิแก้ถูกต้องตามกฎหมายภายในขบวนการคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในบริบทของความแตกแยกที่ใหญ่ขึ้นระหว่างจีนและสหภาพโซเวียต ความแตกแยกระหว่างโซเวียตและแอลเบเนียสิ้นสุดลงด้วยการตัดความสัมพันธ์ใน พ.ศ. 2504 อย่างไรก็ตาม แอลเบเนียไม่ได้ถอนตัวออกจากกติกาสัญญาวอร์ซอจนกระทั่ง พ.ศ. 2511 โดยส่วนใหญ่เป็นปฏิกิริยาเพื่อตอบสนองต่อการรุกรานเชโกสโลวาเกีย

อ้างอิง[แก้]

  1. Mihai Croitor, Sanda Croitor (2020), Sub zodia Dragonului: Lungul marș către ruptura sovieto-albaneză (1956-1961), Editura Mega, p.35-39

บรรณานุกรม[แก้]

  • Alia, R. (1988). Our Enver. Tirana: 8 Nëntori Publishing House.
  • Ash, W. (1974). Pickaxe and Rifle: The Story of the Albanian People. London: Howard Baker Press Ltd.
  • Freedman, R. O. (1970). Economic Warfare in the Communist Bloc. New York: Praeger Publishers.
  • Griffith, W. E. (1963). Albania and the Sino-Soviet Rift. Cambridge, MA: The M.I.T. Press.
  • Halliday, J., บ.ก. (1986). The Artful Albanian: The Memoirs of Enver Hoxha. London: Chatto & Windus Ltd. ISBN 9780701129705.
  • Held, J., บ.ก. (1992). The Columbia History of Eastern Europe in the Twentieth Century. New York: Columbia University Press.
  • Hamm, H. (1963). Albania: China's Beachhead in Europe. New York: Frederick A. Praeger.
  • Hoxha, E. (1976). Albania Challenges Khrushchev Revisionism (PDF). New York: Gamma Publishing Co.
  • —— (1975). Selected Works (PDF). Vol. 2. Tirana: 8 Nëntori Publishing House.
  • —— (1980). Selected Works (PDF). Vol. 3. Tirana: 8 Nëntori Publishing House.
  • —— (1984). The Khrushchevites (PDF) (Second ed.). Tirana: 8 Nëntori Publishing House.
  • Kola, P. (2003). The Search for Greater Albania. London: C. Hurst & Co.
  • Logoreci, Anton (1977). The Albanians: Europe's Forgotten Survivors. London: Victor Gollancz Ltd.
  • Marku, Ylber (2019). "Communist Relations in Crisis: The End of Soviet-Albanian Relations, and the Sino-Soviet Split, 1960–1961". The International History Review (ภาษาอังกฤษ). 42 (4): 813–832. doi:10.1080/07075332.2019.1620825. ISSN 0707-5332. S2CID 191900853.
  • O'Donnell, J. S. (1999). A Coming of Age: Albania under Enver Hoxha. New York: Columbia University Press.
  • Omari, L.; Pollo, S. (1988). The History of the Socialist Construction of Albania (PDF). Tirana: 8 Nëntori Publishing House.
  • Pano, N. C. (1968). The People's Republic of Albania. Baltimore, MD: The Johns Hopkins Press.
  • Vickers, M. (1999). The Albanians: A Modern History. New York: I. B. Tauris & Co Ltd.