ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติเวเนซุเอลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวเนซุเอลา
Shirt badge/Association crest
ฉายาLa Tricolor (ไตรรงค์), แดนนางงาม
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลเวเนซุเอลา (เอเฟอูเบเอเฟ)
สมาพันธ์คอนเมบอล (อเมริกาใต้)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนJosé Pékerman
กัปตันโตมัส ริงกอน
ติดทีมชาติสูงสุดฮวน อารังโก (129)
ทำประตูสูงสุดซาโลมอน รอนดอน (38)
สนามเหย้าสนามกีฬาโอลิมปิก (การากัส)
เอสตาดิโอเมโตรโปลิตาโนเดเมริดา
โปลิเดปอร์ติโบกาชาไม
รหัสฟีฟ่าVEN
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 54 Steady (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด25 (พฤศจิกายน 2019)
อันดับต่ำสุด129 (พฤศจิกายน 1998)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติปานามา ปานามา 3–1 เวเนซุเอลา ธงชาติเวเนซุเอลา
(ปานามาซิตี ปานามา; 12 กุมภาพันธ์ 1938)
ชนะสูงสุด
ธงชาติเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา 7–0 ปวยร์โตรีโก ธงชาติปวยร์โตรีโก
(การากัส เวเนซุเอลา; 16 มกราคม 1959)
แพ้สูงสุด
[[Image:{{{flag alias-1815}}}|22x20px|border |ธงชาติอาร์เจนตินา]] อาร์เจนตินา 11–0 เวเนซุเอลา ธงชาติเวเนซุเอลา
(โรซาริโอ อาร์เจนตินา; 10 สิงหาคม 1975)
โกปาอาเมริกา
เข้าร่วม19 (ครั้งแรกใน 1967)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 4 (2011)

ฟุตบอลทีมชาติเวเนซุเอลา (สเปน: Selección de fútbol de Venezuela) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเวเนซุเอลา อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลเวเนซุเอลา (Federación Venezolana de Fútbol, FVF) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลฟุตบอลในประเทศเวเนซุเอลา พวกเขามีฉายาว่า ลาบิโนตินโต ("ไวน์แดง") เนื่องจากพวกเขาใช้ชุดแข่งขันสีเบอร์กันดี พวกเขามักใช้สนามเหย้า 3 แห่งหมุนเวียนกันไป ได้แก่ โปลิเดปอร์ติโบกาชาไมที่ปูเอร์โตออร์ดัซ, สนามกีฬาโฮเซ อันโตนิโอ อันโซอาเตกิ ที่ปูเอร์โตลากรุซ และสนามกีฬาปูเอโบลนูเอโบที่ซานกริสโตบัล นอกจากนี้ พวกเขายังใช้สนามแห่งอื่น ๆ ในประเทศในการแข่งขันนัดกระชับมิตร

เวเนซุเอลามีความแตกต่างจากชาติอื่นในอเมริกาใต้และแถบแคริบเบียนตรงที่เบสบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมาก ทำให้ฟุตบอลทีมชาติขาดความสำเร็จในการแข่งขันระดับทวีป เวเนซุเอลาเป็นเพียงชาติเดียวจากคอนเมบอลที่ไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเลย อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2011 เวเนซุเอลาทำผลงานที่ดีที่สุดในการแข่งขันโกปาอาเมริกาด้วยการจบที่อันดับที่ 4 ทำให้มีการพัฒนานักฟุตบอลและสนับสนุนทีมชาติมากขึ้น ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 เวเนซุเอลาเป็นชาติที่มีอันดับโลกฟีฟ่าดีที่สุดที่ไม่เคยเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยในตอนนั้น พวกเขาอยู่อันดับที่ 25[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA.com. FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-02. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]