ข้ามไปเนื้อหา

สัญญาใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญญาใหม่
ซ้ายบน: TVA ได้รับการลงนามให้เข้าสู่ทางกฎหมายในปี ค.ศ. 1933
ขวาบน: ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ได้เป็นผู้นำโครงการนี้;
ล่าง: ภาพจิตรกรรมฝาผนังสาธารณะจากโครงการศิลปะ
ที่ตั้งสหรัฐอเมริกา
ประเภทEconomic program
สาเหตุภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
ผลการปฏิรูปวอลสตรีท; บรรเทาสำหรับเจ้าของฟาร์มและผู้ว่างงาน; สวัสดิการทางสังคม; อำนาจทางการเมืองได้เปลี่ยนเป็นการประสานกันในสัญญาใหม่ของพรรคแดโมเครต; การโต้เถียง/การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่ล่าช้า

สัญญาใหม่ (อังกฤษ: New Deal) เป็นหนึ่งในโครงการ, โปรเจกต์งานสาธารณะ การปฏิรูปทางการเงินและกฏระเบียบทีถูกประกาศใช้โดยประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ในสหรัฐอเมริกาในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1933 และ 1936 ได้ตอบสนองความต้องการเพื่อบรรเทา, การปฏิรูปและฟื้นฟูจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

โครงการหลักของรัฐบาลกลางได้รวมถึงเหล่า นักอนุรักษ์นิยมพลเรือน (CCC) ฝ่ายบริหารการงานพลเรือน (CWA) ฝ่ายบริหารสวัสดิการฟาร์ม (FSA) กฎหมายการฟื้นฟูอุตสาหกรรมแห่งชาติ ค.ศ. 1933 (NIRA) และฝ่ายบริหารสวัสดิการทางสังคม(SSA) พวกเขาได้ให้การสนับสนุนสำหรับเจ้าของฟาร์ม ผู้ว่างงาน เยาวชน และผู้สูงอายุ สัญญาใหม่ได้รวมถึงการจำกัดใหม่และการป้องกันต่อธุรกรรมอุตสาหกรรมและความพยายามที่จะขยายตัวทางเศรษฐกิจภายหลังจากราคาได้ตกต่ำอย่างรวดเร็ว โครงการสัญญาใหม่ได้รวมถึงทั้งการผ่านทางกฎหมายโดยสภาคองเกรสเช่นเดียวกับคำสั่งฝ่ายบริหารประธานาธิบดีในช่วงวาระแรกของการเป็นประธานาธิบดีของแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์

โครงการนี้ได้มุ่งเน้นไปยังสิ่งที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า "หลัก 3 ข้อ": การบรรเทาสำหรับผู้ว่างงานและคนยากจน การฟื้นฟูของเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และการปฏิรูประบบทางการเงินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะตกต่ำกลับมาซ้ำอีก สัญญาใหม่ได้สร้างการปรับเปลี่ยนทางการเมือง ทำให้พรรคเดโมแครตมีเสียงข้างมาก(เช่นเดียวกับพรรคที่จัดตั้งในทำเนียบขาวจากเจ็ดในเก้าวาระของประธานาธิบดี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933-1969) ด้วยพื้นฐานมาจากความคิดเสรีนิยม,ทางตอนใต้ ธรรมเนียมของพรรคเดโมแครต เครื่องจักรเมืองขนาดใหญ่ และสหภาพแรงงานที่ได้รับมอบอำนาจใหม่และชนกลุ่มทางเชื้อชาติ พรรครีพับลิกันได้แตกแยกด้วยฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่คัดค้านสัญญาใหม่ทั้งหมดซึ่งไม่เอื้ออำนายต่อธุรกิจและการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสนับสนุนให้กับฝ่ายเสรี การปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปธรรมเป็นการประสานกันของสัญญาใหม่ที่ครอบงำการเลือกตั้วเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1960 ในขณะที่ฝ่ายค้านที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่ต่อรัฐบาลผสมที่ได้ควบคุมรัฐสภาภายในประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937 ถึง 1964

สรุป[แก้]

"สัญญาใหม่" หรือที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า "New Deal" เป็นชุดนโยบายสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ที่ริเริ่มโดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ในช่วงปี พ.ศ. 2476-2479 (ค.ศ. 1933-1936) เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

นโยบายนี้ประกอบด้วยโครงการต่างๆ มากมาย เช่น
  1. การสร้างงานสาธารณะ
  2. การปฏิรูปทางการเงิน
  3. การออกกฎระเบียบใหม่เพื่อควบคุมเศรษฐกิจ
จุดมุ่งหมายหลักของสัญญาใหม่ แบ่งเป็น 3 ประการ คือ
  1. บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ว่างงานและคนยากจน
  2. ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับสู่ภาวะปกติ
  3. ปฏิรูประบบการเงินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตซ้ำอีก
โครงการและหน่วยงานสำคัญภายใต้สัญญาใหม่ ได้แก่
  1. นักอนุรักษ์นิยมพลเรือน (CCC): สร้างงานให้เยาวชนในการอนุรักษ์ธรรมชาติ
  2. ฝ่ายบริหารการงานพลเรือน (CWA): จัดหางานสาธารณะระยะสั้นให้ผู้ว่างงาน
  3. ฝ่ายบริหารสวัสดิการฟาร์ม (FSA): ช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจน
  4. กฎหมายการฟื้นฟูอุตสาหกรรมแห่งชาติ (NIRA): กำหนดมาตรฐานแรงงานและควบคุมการแข่งขันทางธุรกิจ
  5. ฝ่ายบริหารสวัสดิการทางสังคม (SSA): จัดตั้งระบบประกันสังคมและบำนาญ

นโยบายสัญญาใหม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ โดยพรรคเดโมแครตได้รับความนิยมอย่างมาก และครองอำนาจในทำเนียบขาวเป็นเวลายาวนาน แม้ว่านโยบายนี้จะเกิดขึ้นในอดีต แต่แนวคิดของสัญญาใหม่ยังคงมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะในยามที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การสร้างงาน และการช่วยเหลือผู้ว่างงาน