ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
National Health Commission Office (NHCO)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง19 มีนาคม พ.ศ. 2550; 17 ปีก่อน (2550-03-19)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานใหญ่ชั้น 3 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ถนนติวานนท์ 14 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
งบประมาณประจำปี250 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดหน่วยงานสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)
เอกสารหลัก
เว็บไซต์www.nationalhealth.or.th

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ อังกฤษ: (National Health Commission Office) หรือเรียกโดยย่อว่า สช. อังกฤษ: (NHCO) เป็นองค์การมหาชน[2] ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีฐานะเป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล จัดทำรายงานสถานการณ์ของระบบสุขภาพ และดำเนินการเพื่อให้มีการจัดสมัชชาสุขภาพ[3] ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติตั้งอยู่ที่ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ความเป็นมาขององค์กร[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 [4] จากการโอนกิจการของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.)[5] โดยเป็นหน่วยเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) และคณะกรรมการบริหาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คบ.) มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานด้านนโยบายและ ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในระดับนโยบายและ ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จัดทำรายงานสถานการณ์ของระบบสุขภาพ และดำเนินการเพื่อให้การจัดสมัชชา สุขภาพแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น บรรลุผลตามมติของ คสช. โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (เลขาธิการ คสช.) เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงาน

ยุค สปรส.[แก้]

สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลของชวน หลีกภัย เห็นว่าระบบสุขภาพในขณะนั้น ยังไม่สามารถช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีพอ จึงต้องมีการปฏิรูประบบสุขภาพ สร้างระบบสุขภาพให้มีมาตรฐาน โดยการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2543 เป็นผลให้เกิด "สำนักงานปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ"[6]

วิสัยทัศน์ (VISION)[แก้]

ระบบสุขภาพไทยพัฒนาจากกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา (4P-W)

พันธกิจ (MISSION)[แก้]

สานพลังเพื่อขับเคลื่อน ระบบสุขภาพไทย ด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา (4P-W)

4P-W ย่อจาก Participatory Public Policy Process based on Wisdom

เป้าประสงค์ (GOAL)[แก้]

  1. ระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับธรรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
  2. กระบวนการนโยบายสารารถณะที่มีคุณภาพ
  3. นโยบายสารารณะที่สําเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

คณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)[แก้]

เลขาธิการ คสช. ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 วาระ

ชุดที่ 1
รูป
ชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
สิ้นสุดวาระ
นพ.อําพล จินดาวัฒนะ
เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559
นพ.อุกฤษฎ์ มิลินทางกูร
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นางปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นพ.ชาตรี เจริญศิริ
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ชุดที่ 2
รูป
ชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
สิ้นสุดวาระ
นพ.อําพล จินดาวัฒนะ
เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559
นพ.อุกฤษฎ์ มิลินทางกูร
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นางปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นพ.ประจักษวิช เล็บนาค
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นพ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ชุดที่ 3
รูป
ชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
สิ้นสุดวาระ
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป
เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
น.ส.พัชรา อุบลสวัสดิ์
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นายสุรพงษ์ พรมเท้า
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ชุดที่ 4
รูป
ชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
สิ้นสุดวาระ
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ
เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
20 กันยายน พ.ศ. 2562 19 กันยายน พ.ศ. 2566
นพ.ปรีดา แต้อารักษ์
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
น.ส.พัชรา อุบลสวัสดิ์
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ชุดที่ 5
รูป
ชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
สิ้นสุดวาระ
นพ.สุเทพ เพชรมาก
เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
16 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ปัจจุบัน
นพ.อภิชาติ รอดสม
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นพ.ปรีดา แต้อารักษ์
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

ตราสัญลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ[แก้]

ตัวอักษร ส และ ช แทนชื่อย่อขององค์กรมาบรรจบกัน มีความเด่นชัด ชัดเจน เพราะบทบาทหน้าที่ของ สช. คือ สร้างสรรค์นโยบายสาธารณะให้กับประเทศ

ลำดับ วัน/เดือน/ปี ภาพตัวอย่าง รายละเอียด หมายเหตุ
1
พ.ค. 2552
ตัวอักษร ส และ ช จะมีรูปร่างหน้าตาเป็น 'สามขา' บางๆ
2
พ.ค. 2560
รูปร่างหน้าตาเป็น 'สามขา' มาบรรจบกัน ตรงกับลักษณะของตัวอักษรจีน อ่านว่า หยิน ซึ่งมีความหมายว่า คน เพราะ สช.ทำงานกับผู้คนที่หลากหลาย
3
3 พ.ค. 2567 ถึง ปัจจุบัน
รูปร่างหน้าตาเป็น 'สามขา' มาบรรจบกัน ตรงกับลักษณะของตัวอักษรจีน อ่านว่า หยิน ซึ่ง สีน้ำเงินสะท้อนถึงปัญญาความรู้และความมั่นคง

อ้างอิง[แก้]