ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลตำบลบ้านส้อง

พิกัด: 8°39′37.0″N 99°22′34.6″E / 8.660278°N 99.376278°E / 8.660278; 99.376278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลบ้านส้อง
ทต.บ้านส้องตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทต.บ้านส้อง
ทต.บ้านส้อง
พิกัด: 8°39′37.0″N 99°22′34.6″E / 8.660278°N 99.376278°E / 8.660278; 99.376278
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอเวียงสระ
จัดตั้ง • 5 กรกฎาคม 2516 (สภาตำบลบ้านส้อง)
 • 2540 (อบต.บ้านส้อง)
 • 20 สิงหาคม 2547 (ทต.บ้านส้อง)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีคนองศิลป์ ชิตรกุล
 • ปลัดเทศบาลพงศ์ศักดิ์ รักษาวงศ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด128.31 ตร.กม. (49.54 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2567)[1]
 • ทั้งหมด17,748 คน
 • ความหนาแน่น138.32 คน/ตร.กม. (358.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05841502
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 2 หมู่ 5 บ้านส้อง อำเภอเวียงสระ สุราษฎร์ธานี 84190
สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านส้อง
โทรศัพท์077 953 041
เว็บไซต์www.bansong.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ตัวเมืองบ้านส้องเป็นเมืองขนาดใหญ่ของอำเภอเวียงสระหรือจะเรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดของเวียงสระเลยก็ได้
แหล่งที่มารูปภาพ : Google Earth
แผนที่แสดงอาณาเขตของเทศบาลตำบลบ้านส้อง

เทศบาลตำบลบ้านส้อง เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 1, 3, 5–9, 11–18 และครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 2, 4, 10 ของตำบลบ้านส้อง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ)[2] ในอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 128.31 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80,193.75 ไร่ ใน พ.ศ. 2567 เขตเทศบาลตำบลมีประชากร 17,748 คน[1]

เทศบาลตำบลบ้านส้องเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลบ้านส้องใน พ.ศ. 2516[3] ก่อนที่จะได้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านส้องใน พ.ศ. 2540[4] และยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านส้องในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2547[5]

พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณทิศตะวันออกของอำเภอเวียงสระ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงสระประมาณ 6.9 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 58.8 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4009 สายบางใหญ่–อ่าวลึก และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 690 กิโลเมตร และ 1 ชั่วโมง 5 นาที ถึงกรุงเทพมหานครผ่านทางท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี

ข้อมูลประชากรแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน[แก้]

ตำบลบ้านส้องแบ่งหมู่บ้านต่างๆได้ 18 หมู่บ้านโดยเรียงตามข้อมูลประชากรดังนี้[1]

ลำดับ ชื่อหมู่บ้านภาษาไทย ชื่อหมู่บ้านภาษาอังกฤษ หมู่ที่ ประชากรทั้งหมด(คน)
1. หนองสามสิบ Nong Sam Sip หมู่10.
3,708
2. ส้อง Song หมู่4.
1,855
3. นาเหนง Naneng หมู่5.
1,408
4. ส้องเหนือ Song Nuea หมู่2.
1,300
5. มหาราช Maharaj หมู่6.
1,240
6. เหนือคลอง Nuea Khlong หมู่7.
1,041
7. สวนกล้วย Suan Kluay หมู่17.
904
8. ห้วยแก้ว Huai Kaew หมู่13.
902
9. ราษฎร์พัฒนา Ratphatthana หมู่12.
858
10. ห้วยทรายขาว Huai Sai Khao หมู่16.
669
11. พรุกำ Phru Kam หมู่14.
595
12. หนองชุมแสง Nong Chum Saeng หมู่8.
589
13. นาชุมเห็ด Nha Chum Hed หมู่9.
537
14. ไทรทอง Sai Thong หมู่15.
490
15. พรุกะแชง Phru Ka Chaeng หมู่1.
473
16. ถาวรราษฎร์ Thawornrat หมู่11.
457
17. หนองตอเสียด Nong Tor Siat หมู่18.
409
18. คลองหน Khlong Hon หมู่3.
313

เศรษฐกิจ[แก้]

ถึงแม้อำเภอเวียงสระจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลเวียงสระ แต่ตำบลบ้านส้องเป็นตำบลที่มีเศรษฐกิจดีที่สุดในอำเภอเวียงสระ

ลักษณะเศรษฐกิจของตำบลบ้านส้อง

  • เนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของตำบลบ้านส้อง ทำให้ศูนย์กลางของเศรษฐกิจอยู่ทางทิศตะวันตกของตำบลเนื่องจากอยู่ใกล้กับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4009 ทำให้ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างๆจึงกระจุกตัวอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกของตำบลบ้านส้อง
  • ทางทิศตะวันออกของตำบลบ้านส้องส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบสูงและภูเขาทำให้ทางฝั่งทิศตะวันออกจะเป็นเศรษฐกิจแบบการเกษตรมากกว่าโดยส่วนใหญ่จะปลูก ทุเรียน ยางพารา ปาลม์ ซึ่งตำบลบ้านส้องมีเศรษฐกิจโดยพึ่งการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
ความคึกคักในตัวเมืองบ้านส้องขณะช่วงเวลากลางคืนซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีน


ปัญหาต่างๆที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของตำบลบ้านส้อง

  • ภัยแล้ง ในช่วงฤดูร้อนโดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ตำบลบ้านส้องประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนักเนื่องจากฝนแล้ง ทำให้คลองและคูเขื่อนไม่มีน้ำเนื่องจากไม่มีน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา ส่งผลให้เศรษฐกิจด้านการเกษตรได้รับผลกระทบเป็นอย่างหนักโดยเฉพาะ ยางพารา ทุกเรียน และปาลม์ ต้นไม้ด้านเกษตรของชาวสวนล้มตายตามๆกันไปเนื่องจากขาดน้ำ ทำให้เศรษฐกิจของตำบลบ้านส้องได้รับผลกระทบอย่างหนัก
  • สภาพภูมิศาสตร์ ตำบลบ้านส้องมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายสำหรับทางทิศตะวันตก ทิศใต้ ทิศเหนือเป็นที่ราบลุ่มอยู่ใกล้แม่น้ำตาปี มีแม่น้ำคลองตาลไหลผ่านจึงเหมาะแก่การพัฒนาเมืองและการเกษตร แต่พื้นที่ทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ราบสูงภูเขา มีหมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่อยู่ในเขตนี้ทำให้โครงสร้างพื้นฐานบางส่วนอาจยังไม่พัฒนาได้ดีพอ แต่ในปัจจุบันปัญหาด้านนี้แทบจะไม่เหลือให้เห็นมากนักเนื่องจากบ้านน้องมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "3 หมอรู้จักคุณ :: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ". 3doctor.hss.moph.go.th.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงสระ กิ่งอำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (57 ง): 1843–1844. วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2511
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (ตอนพิเศษ 84 ง): 1–2. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2548

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]